วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่ากราฟิก,การออกแบบกราฟิก,และการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

ความหมายของ กราฟฟิก

กราฟิก Graphic

      หมายถึง การวาดรูป การเขียน ประกอบด้วยการบรรยาย ในเชิงความเหมือนจริง มีลายระเอียดปรากฏชัดเหมือนของจริง การวาด หรือ การเขียนด้วยมือ การทำเครื่องหมายเหมือนการเขียนหรือลักษณะการพิมพ์ รูปภาพหรือไดอาแกรม ประกอบข้อมูล แสดงด้วยภาพกราฟฟิกเกี่ยวกับภาพซึ่งอ้างอิงถึง คำพูดหรือการเขียนเกี่ยวของกับการบรรยาย ที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการที่แจ่มชัดในลักษณะภาพที่มองเห็นได้
ศิลปะของการวาดเขียน เช่น ในทางสถาปัตยกรรม หรือ การคิดคำนวนที่มุ่งเน้นประโยชน์ที่ได้จาการวาดรูปต่างๆ เกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่มองเห็น เช่น ตัวอักษร ภาพตาราง รูปวาดต่างๆ เกี่ยวกับการพรรณนา การอธิบาย ทำให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง



สรุป กราฟฟิก คือ การแสดงออกทางศิลปะ การสื่อความหมายออกในแนวศิลปะด้วยวิธีต่างๆ 
อ้างอิง : หนังสือ "กราฟฟิกกับนิตยสาร",ผู้เขียน วรสิทธิ์ มุทธเมธา ศษ.บ.(ศิลปกรรม),พ.ศ.2544


ความหมายของการออกแบบกราฟิก (Definition of Graphic Design)

การออกแบบกราฟิก

   ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น

    คำว่าการออกแบบ (Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่



สรุป การออกแบบกราฟฟิก คือ การสร้างสรรค์ลักษณะ จัดวางองค์ประกอบต่างๆ ปรับปรุง ให้เหมาะสม ให้สวยงาม โดยคำนึงถึงหลักการและผลประโยชน์ต่างๆ อย่างมีรูปแบบ และสวยงามตามค่านิยมทางความงาม
อ้างอิงhttp://www.l3nr.org/posts/92622


ตวามหมายของการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์(Graphic for Package)

การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

      การออกแบบกราฟฟิกหมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของ
โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (to communicate)
ในอันที่จะให้ผล ทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูด ความสนใจ 
การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ผู้ผลิต ด้วย
การใช้วิธี การออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมาย
และสัญลักษณ์ ทางการค้า แล ะอาศัยหลักศิลปะการ จัดภาพให้เกิดการประสาน
กลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้วางไว้ 
การออกแบบกราฟฟิก ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่าง
มาก เพราะว่าเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญ เหนือไปจากการบรรจุและการป้องกัน
ผลิตภัณฑ์โดยตรงทำให้บรรจุภัณฑ์ ได้มีหน้าที่ เพิ่มขึ้นมา โดยที่ลักษณะกราฟฟิก
บรรจุภัณฑ์และสลากได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญ อันได้แก่

      1. การสร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต กราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์
และแผ่นสลาก ได้ทำหน้าที่ เปรียบเสมือนสื่อ ประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ ์ในอันที่
จะเสนอต่อผู้อุปโภค บริโภคแสดงออกถึง คุณงานความดีของผลิตภัณฑ์ และความ
รับผิดชอบที่ ผู้ผลิตมีต่อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยท ี่ลักษณะทาง กราฟฟิก จะสื่อความหมาย
และปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ ตลอดทั้งสร้างความต่อเนื่อง
ของการใช้ การเชื่อถือในคุณภาพ จรกระทั่งเกิด ความศรัทธา เชื่อถือในผู้ผลิตใน
ผลผลิตที่สุดด้วย

     2. การชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึง ชนิดประเภทของผลิตภัณฑ์ ลักษณะ
กราฟฟิกเพื่อ ให้สื่อความหมาย หรือถ่ายทอดความรู้สึกได้ว่า ผลิตภัณฑ์คืออะไร และ
ผู้ใดเป็นผู้ผลิตนั้น มักนิยมอาศัย ใช้ภาพและอักษรเป็นหลัก แต่ก็ยังอาศัยองค์ประกอบ
อื่น ๆ ในการออกแบบ เช่น รูปทรง เส้น สี ฯลฯ ซึ่งสามารถสื่อให้เข้าใจหมายหมายได้
เช่น เดียวกับการใช้ภาพ และข้อความอธิบายอย่างชัดเจน ตัวอย่างงานดังกล่าวนี้มีให้
เห็นได้ทั่วไป และที่เห็นชัดคือ ผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ ที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่ คล้ายคลึง
กัน ดังเช่น เครื่องสำอาง และยา เป็นต้น แม้บรรจุอยู่ในขวดหรือ หลอดรูปทรงเหมือนกัน
ผู้บริโภค ก็สามารถชี้ ได้ว่าอันใดคือเครื่องสำอางอันใดคือยา ทั้งนี้ก็โดนการสังเกตจาก
กราฟฟิก เช่น ลักษณะตัวอักษร หรือ สีที่ใช้ซึ่งนักออกแบบจัดไว้ให้ เกิดความรู้สึกผิด
แผกจากกัน เป็นต้น ดังภาพที่ 10

      3. การแสดงเอกลักษณ์เฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการลักษณะ
รูปทรงและโครงสร้าง ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ใน
ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททั้งนี้ เพราะกรรมวิธ ีการบรรจุภัณฑ์ ใช้เครื่องจักรผลิตขึ้นมา
ภายใต ้มาตราฐานเดียวกัน ประกอบกับผู้แข่งขัน ในตลาดมีมาก ดังที่เห็นได้ จาก
ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปที่ผลิตและจำหน่ายอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งมี
ลักษณะรูปทรง และโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันมาก เช่น อาหารกระป๋อง ขวดเครื่องดื่ม
ขวดยา ซองปิดผนึก( pouch ) และกล่องกระดาษเป็นต้น บรรจุภัณฑ์
ต่าง ๆ เหล่านี้มักมีขนาด สัดส่วน ปริมารการบรรจุ ที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน
ดังนั้นการออกแบบกราฟฟิก จึงมีบทบาทหน้าที่แสดงเอกลักษณ์ หรือบุคลิกพิเศษ
ที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน ( brand image ) ของผลิตภัณฑ์ และ ผู้ผลิตให้เกิด
ความชัดเจน ผิดแผกจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน เป็นที่สะดุดตา และเรียกร้องความ
สนใจ จากผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่ให้จดจำ ได้ตลอดจนซื้อได้โดยสะดวกและรวดเร็ว

      4. การแสดงสรรพคุณและวิธีใช้ ของผลิตภัณฑ์เป็นการให้ข่าวสารข้อมูล
ส่วนประสมหรือส่วน ประกอบที่เกี่ยว ข้องกับผลิตภัณฑ์ภายในว่ามีคุณสมบัติ
สรรพคุณและวิธีการใช้อย่างถูหกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งนี้โดยการอาศัย การออกแบบ
การจัดวาง( lay -out ) ภาพประกอบข้อความสั้นๆ( slogan)ข้อมูลรายละเอียด ตลอดจน
ตรารับรอง คุณภาพและอื่น ๆ ให้สามารถเรียกร้องความสนใจ จากผู้บริโภคให้
หยิบยกเอาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาพิจารณา เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ การออกแบบกราฟฟิค
เพื่อแสดง บทบาทในหน้าที่นี้จึงเปรียบจึงเปรียบเสมือน การสร้างบรรจุภัณฑ์ให้เป็น
พนักงานขายเงียบ ( the silent salesman )ที่ทำหน้าที่โฆษนา ประชาสัมพันธ์ แทนคน
ณ บริเวณจุดซื้อ( point of purchase ) นั้นเอง

สรุป การออกแบบกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์ คือ การสร้างสรรค์ตามจินตนาการ ออกแบบ จัดวางองค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ ให้สวยงาม โดยคำนึงถึงรูปทรง ความสวยงาม ลักษณะที่เหมาะสม และประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และแสดงออกถึงบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ตามค่านิยม สื่อสารกันระหว่างผู้สร้างสรรค์กับผู้บริโภค
อ้างอิงhttp://design-prt1330.exteen.com/20080718/entry-5






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น